วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปย่อ LAW2032 กฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน

สรุปย่อ วิชา ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย และระบบกฎหมายหลัก (LAW2032)
เรื่อง กฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน

ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบียึดหลักการแก้แค้นตอบแทนที่รุนแรงมาก หลักการดังกล่าวนี้ เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมที่เรียกว่า “Lex Talionis” หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เห็นได้จากข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังนี้คือ
1.ถ้าบุคคลใดทำลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทำลายเช่นกัน
2.ถ้าชายคนหนึ่งเป็นเหตุให้ชายอีกคนสูญเสียลูกนัยน์ ตา ลูกนัยน์ตาของชายคนนั้นต้องถูกควักออกมา
3.บุคคลใดทำให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย
4.ถ้าบ้านพังตกลงมาทับเจ้าของบ้านตาย ผู้สร้างต้องรับผิดชดใช้ด้วยชีวิต
5.ช่างก่อสร้างบ้านเรือนที่ทำให้บุตรของเจ้าของบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาทบุตรของตนจะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน
6.เจ้าหนี้ทำให้บุตรของลูกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็นผู้ขัดหนี้ถึงแก่ความตายบุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย
เมื่อพิจารณาหลักการลงโทษจะเห็นว่าเป็นการลงโทษแก่บุตรหรือธิดาของผู้กระทำผิดซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทำความผิด อันเป็นวิธีการลงโทษที่แตกต่างกับกฎหมายอาญาในปัจจุบัน ที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทำความผิด
ประมวลกฎหมายนี้ไม่มีการลงโทษจำคุกแก่ผู้กระทำผิด เพราะโทษที่ลงแก่ผู้กระทำผิดร้ายแรงที่ผู้กระทำผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือโทษประหารชีวิต แต่ความผิดอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้กระทำผิดได้รับคือ โทษปรับ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องถูกลงโทษประหารชีวิต แต่ถ้าจำเลยสาบานว่าฆ่าคนจริงแต่ไม่เจตนาโทษที่จำเลยได้รับคือปรับโดยคำนึงถึงชั้นวรรณะของผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเป็นหลัก
นอกจากนี้ลูกทำร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ต้องตัดมือทิ้งเสีย
วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้นำภรรยาไปโยนลงในแม่น้ำ ถ้าลอยน้ำถือว่าบริสุทธิ์ ถ้าจมน้ำถือว่ามีความผิด

สรุปย่อ LAW2032 กฎหมายของชาวยิว

สรุปย่อ วิชา ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย และระบบกฎหมายหลัก (LAW2032)
เรื่อง กฎหมายของชาวยิว

ได้มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรเกิดขึ้นกับชาวฮิบรูหรือยิวอยู่ระหว่างปี1275ถึง586ก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันเรียกว่าอิสราเอล ชนเผ่าฮิบรูเป็นชนเผ่าเซเมติก เดิมอยู่ทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ชาวฮิบรูได้เข้าไปตั้งบ้านเรือนปะปนกับชาวคานาน ต่อมาเรียกดินแดนนี้ว่าปาเลสไตน์
ชาวฮิบรูเคยเข้าไปในอียิปต์และตกเป็นทาสของชาวอียิปต์อยู่ระยะหนึ่ง โมเสสเจ้าชายหนุ่มชาวอิสราเอลเกิดขึ้นที่นั่น เขาเติบโตในพระราชวังของกษัตริย์ฟาโรห์ โมเสสได้ต่อสู้เพื่อหยุดยั้งชาวอียิปต์ที่ทำร้ายข่อขู่คนงานชาวอิสราเอลจนโมเสสได้ฆ่าชาวอียิปต์และเขาหนีไป ต่อมาได้เป็นผู้นำของชาวอิสราเอล โมเสสได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า พระองค์บอกให้เขานำชาวอิสราเอลไปสู่ดินแดนใหม่ เขาจึงกลับมาอียิปต์แล้วแสดงให้ฟาโรห์เห็นถึงความต้องการเป็นอิสระของชาวอิสราเอล โมเสสได้ขู่ฟาโรห์ว่าถ้าไม่ทำตามจะได้พบกับพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า คือพระยะโฮวาห์ กษัตริย์ฟาโรห์จึงยอมปล่อยชาวอิสราเอลเป็นอิสระ
โมเสสนำชาวอิสราเอลผ่านทะเลทรายเพื่อค้นหาดินแดนใหม่ จนชาวอิสราเอลท้อ โมเสสตำหนิพวกเขาว่าให้มีความเชื่อถือในพระผู้เป็นเจ้า
บนภูเขาชีไน โมเสสที่อยู่ตามลำพังคนเดียวได้เห็นและได้ยินกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ได้แกะบัญญัติสิบประการบนแผ่นป้ายที่ทำด้วยก้อนหิน
ผู้ฝ่าฝืนกระทำผิดบัญญัติสิบประการ ไม่มีโทษประหารชีวิตหรือโทษปรับเหมือนกฎหมายสมัยบาบิโลนหรือไม่มีสภาพบังคับอย่างเช่นกฎหมายในปัจจุบัน

สรุปย่อ LAW2032 กฎหมายบาบิโลน

สรุปย่อ วิชา ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย และระบบกฎหมายหลัก (LAW2032)
เรื่อง กฎหมายบาบิโลน

บริเวณที่ราบระหว่างแม่น้ำไทกรสและยูเฟรติสมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว หรือเรียกว่าเมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีก แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำ
ชาวสุเมเรียนเป็นเผ่าแรกที่มาตั้งถิ่นฐานจัดตั้งนครรัฐได้คิดวิธีเขียนหนังสือโดยใช้ไม้ไผ่หรือปลายอ้อ ทำเป็นรูปลิ่มกดลงไปบนแผ่นดินเหนียวที่ยังอ่อนและนำไปเผาไฟหรือผึ่งแดดให้แข็ง รู้จักในนามอักษรคูนีฟอร์ม หรืออักษรรูปลิ่ม มาจากภาษาลาติน แปลว่าลิ่ม
ต่อมาพวกอัคคาเดียยกทัพเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะ กษัตริย์ชาวอัคคัดขึ้นปกครอง พระนามว่าพระเจ้าซาร์กอน
พวกอะมอไรท์ยึดหมู่บ้านบาบิโลนแล้วสถาปนาเป็นนครหลวงของจักรวรรดิ ชนเผ่านี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชาวบาบิโลเนีย กษัตริย์ที่ทรงความสามารถและมีพระนามโด่งดังที่สุดคือ พระเจ้าฮัมมูราบี ทรงรวมดินแดนแห่งแม่น้ำทั้งสอง จัดทำประมวลกฎหมายซึ่งนำเอากฎหมายเก่าของชาวสุเมเรียนและชาวอียิปต์ที่มีอยู่แล้วมาตรวจทางใหม่ มีทั้งหมด 282 ข้อ ตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีสลักอยู่บนแท่นหินสีดำ ได้รับการยกย่องว่าเป็นประมวลกฎหมายเก่าแก่ที่สมบูรณ์ที่สุดในยุคนั้น แต่ก็ไม่ใช่ประมวลกฎหมายตามความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
จารึกอยู่บนแผ่นหินไดโอไรท์สีดำ สูงประมาณ 8 ฟุต เป็นอักษรคูนิฟอร์ม แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.กฎหมายมหาชน
สมัยบาบิโลนแบ่งประชาชนออกเป็น 3 พวก คือ
I. ชนชั้นสูง หรือชนชั้นปกครอง คือพวกข้าราชการ
II.ชนชั้นกลาง คือประชาชนธรรมดา หรือพวกเสรีชน
III.ชนชั้นล่าง หรือทาส
การทำผิดต่อชนชั้นสูงต้องรับโทษหรือถูกปรับสูงกว่าอัตราปกติ ชนชั้นสูงถูกชนชั้นล่างทำร้านสามารถแก้แค้นได้ ถ้าชนชั้นล่างถูกชนชั้นสูงทำร้าย จะแก้แค้นไม่ได้ ให้ชนชั้นสูงใช้ค่าสินไหมทดแทนชนชั้นล่างอาจไถ่ตัวเองให้เป็นเสรีชนได้ บุตรที่เกิดจากชายที่เป็นทาสและหญิงที่เป็นเสรีชนจะเป็นเสรีชนและทรัพย์สินกึ่งหนึ่งเป็นของฝ่ายหญิง
2.กฎหมายเอกชน มี 6 ประเภท
I.กฎหมายเรื่องเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ วัดเป็นเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินให้ผู้อื่นเช่าโดยได้ค่าเช่าเป็นการตอบแทน ผู้เช่าอาจนำที่ดินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าต่อได้
II.กฎหมายเรื่องเช่าปศุสัตว์ เช่าสัตว์เลี้ยงสำหรับใช้แรงงาน ผู้เช่าต้องรับผิดชอบเมื่อสัตว์เลี้ยงไปก่อความเสียหายให้ผู้อื่น ต้องดูแลปศุสัตว์อย่างดี ไม่ปล่อยให้สูญพันธ์
III.กฎหมายเรื่องชลประทาน เอกชนสามารถขุดลำรางเพื่อนำน้ำจากคูหรือคลองที่เป็นแหล่งน้ำส่วนกลางไปใช้ในที่ดินได้ แต่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากการนำน้ำนั้นไปใช้
IV.กฎหมายเรื่องการจ้างแรงงาน การขุดคลองเป็นงานหนัก เจ้าของทำไม่ไหว จึงต้องจ้างลูกจ้างมาช่วย และนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทาสไม่ถือเป็นลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทน
V.กฎหมายเรื่องครอบครัว การสมรสบิดามารดาทั้ง2ฝ่าย ฝ่ายชายต้องมอบเงินจำนวนหนึ่งให้ฝ่ายหญิงซึ่งถือว่าเป็นการซื้อหญิงมาเป็นภรรยา ฝ่ายหญิงจะมอบเงินทุนให้หญิงจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของหญิงตลอดชีวิต เมื่อหญิงตายจะตกเป็นของบุตร ถ้าไม่มีบุตรจะเป็นของครอบครัวหญิง “สามีภรรยาเป็นบุคคลคนเดียวกัน”จึงต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกัน ยกเว้นทำสัญญาจำกัดความรับผิดเป็นหนังสือ
การหย่าสามีจะทำเมื่อไหร่ก็ได้โดยต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู ภรรยาเป็นฝ่ายดูแลบุตร ภรรยาจะหย่าได้เมื่อสามีทำทารุณหรือละทิ้ง ถ้าสามีตายภรรยาจะทำการสมรสใหม่ได้เมื่อศาลอนุญาต ศาลจะวางข้อกำหนดเรื่องมรดก ถ้าภรรยาไม่มีบุตรต้องยกสาวใช้ให้แก่สามีเพื่อให้มีบุตรหากไม่ทำสามีอาจหาหญิงอื่นมาเป็นภรรยาน้อยได้ ภรรยาน้อยมีสิทธิเท่าภรรยาหลวง
VI.กฎหมายเรื่องนิติกรรมสัญญา มีเสรีภาพในการทำสัญญาต่อรองกัน ไม่มีข้อกำหนดว่าต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรที่ทำกันมากคือสัญญาซื้อขาย หากเป็นทรัพย์สินราคาแพงอาจทำสัญญาโดยข้าราชการเรียกว่าสไครวส์หรือสไครเวอเนอร์ เป็นผู้เขียนสัญญาให้ มักมีข้อความว่าเมื่อมีข้อพิพาทให้กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดโดยคู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม หากสัญญาได้ทำเป็นหนังสือคู่สัญญาจะนำสืบพยานบุคคล
3.กฎหมายอาญา เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมเรียกว่า”Lex Talionis” หรือที่กล่าวกันว่า”ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เห็นได้จากข้อความที่บัญญัติไว้ ดังนี้
1.ถ้าบุคคลใดทำลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทำลายเช่นกัน
มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทำความผิด ไม่มีโทษจำคุก โทษที่ลงแก่ผู้กระทำผิดร้ายแรงที่ผู้กระทำผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือประหารชีวิต แต่ความผิดอื่น ๆที่ไม่ร้ายแรงคือโทษปรับ ลูกทำร้ายพ่อโทษคือตัดมือทิ้ง วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ให้นำภรรยาไปโยนลงในแม่น้ำ ถ้าลอยถือว่าบริสุทธิ์