วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โจทย์แบบฝึกหัด ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ชุดวิชา 322447 การบัญชีภาษีอาการและการวางแผนภาษี

นายหนึ่ง และนางสอง เป็นสามีภริยากัน มีความเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตลอดปีภาษี และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี 2553 ทั้งคู่ มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย บุตรคนแรกอายุ 19 ปี ศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง บุตรคนที่ 2 อายุ 9 ปี ศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษา
ในปีภาษีนี้นายหนึ่งมีเงินได้ดังต่อไปนี้
1.เงินได้จากเงินเดือนจากการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งปี 960,000 บาท
2.เงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ เดือนละ 100,000 บาท รวมทั้งปีเป็นเงิน 1,200,000 บาท
3.เงินได้ค่าเช่าบ้าน รับจากผู้เช่า เดือนละ 10,000 บาท รวมทั้งปีเป็นเงิน 120,000 บาท
นางสองมีเงินได้ในปีภาษี ดังนี้
1.เงินได้ค่าเช่าจากการให้เช่าโรงเรียนเพาะเห็ดหอม เดือนละ 30,000 บาท รวมทั้งปี เป็นเงิน 360,000 บาท
2.เงินได้จากการประกอบโรคศิลป์ เดือนละ 50,000 บาท รวมทั้งปีเป็นเงิน 600,000 บาท
3.เงินได้จากดอกเบี้ยสลากออมสิน เดือนละ 9,250 บาท รวมทั้งปีเป็นเงิน 111,000 บาท

คำถาม: 1.นายหนึ่งและนางสองต้องนำเงินได้ต่าง ๆ ข้างต้นมายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี ในนามของผู้ใด เพราะเหตุใด
2.นายหนึ่งและนางสอง ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และสิ้นปี เป็นเงินเท่าใด แสดงการคำนวณประกอบ

หมายเหตุ: การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ถ้าหากจำนวนภาษีตามวิธีที่ 2 มากกว่าวิธีที่ 1 และมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้จะได้รับยกเว้นภาษีที่ต้องเสียตามวิธีที่ 2 แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1 (พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 480) พ.ศ.2552)


ข้อ 1   ตอบ นายหนึ่ง และนางสองต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีในนามของนายหนึ่ง เพราะในกรณีสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี และต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้ถือเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีของนายหนึ่ง

การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1                                                                     (หน่วย:บาท)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ค่าเช่าบ้าน ครึ่งปี                                                                      60,000
หัก ค่าใช้จ่ายร้อยละ 30 (60,000 x 30%)                                                                             18,000
เหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                                                                                42,000
หัก ลดหย่อนส่วนตัว                                                                          15,000
     ค่าลดหย่อนบุตร (8,500 x 2) /2                                                      8,500                      23,500
คงเหลือเงินได้สุทธิเพื่อคำนวณภาษี                                                                                      18,500

จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1 คำนวณได้ดังนี้
เงินได้สุทธิ                ช่วงเงินได้สุทธิ คูณอัตราภาษี                            จำนวนภาษี
0-18,500                 18,500 x 5% ได้รับยกเว้น                                0 บาท

การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ค่าเช่าบ้าน ครึ่งปี                                 60,000
คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ของ 60,000 (60,000 x 0.5%) =          300
ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้น

เพราะฉะนั้น นายหนึ่งไม่ต้องเสียภาษีครึ่งปี

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีของนางสอง

การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1                                                                     (หน่วย:บาท)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ค่าเช่าโรงเรือนฯ ครึ่งปี                            180,000
หัก ค่าใช้จ่ายร้อยละ 30 (180,000 x 30%)                                          54,000                    126,000
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 การประกอบโรคศิลป์ ครึ่งปี                     300,000
หัก ค่าใช้จ่ายร้อยละ 60 (300,000 x 60%)                                        180,000                    120,000
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ดอกเบี้ยสลากออมสิน ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณ                     0
เหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                                                                              246,000
หัก ลดหย่อนส่วนตัว                                                                          15,000
     ค่าลดหย่อนบุตร (8,500 x 2) /2                                                      8,500                      23,500
คงเหลือเงินได้สุทธิเพื่อคำนวณภาษี                                                                                    222,500

จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1 คำนวณได้ดังนี้
    เงินได้สุทธิ                            ช่วงเงินได้สุทธิ คูณอัตราภาษี                          จำนวนภาษี
    0-100,000                                  100,000 x 5% ได้รับยกเว้น                            0 บาท
100,001-150,000                             50,000 x 10% ได้รับยกเว้น                            0 บาท
150,001-222,500                                      72,500 x 10%                                 7,250 บาท

การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 และ 6 (180.000 + 300,000)           480,000
คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ของ 60,000 (480,000 x 0.5%) =     2,400

เพราะฉะนั้น นางสองต้องเสียภาษีครึ่งปี ตามวิธีที่ 1 จำนวน 7,250 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น